สภาพัฒนาการเมืองสภาพัฒนาการเมืองสภาพัฒนาการเมืองสภาพัฒนาการเมือง
  • หน้าหลัก
  • สภา
  • สำนักงาน
  • กองทุน
  • คปจ.
  • จดแจ้งองค์กร
  • ติดต่อ

งบประมาณ ปี 2557

  • งบประมาณ ปี 2557
  • โครงการกาฬสินธุ์
  • งบประมาณ ปี 2559
Home เครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) จังหวัดกาฬสินธุ์ งบประมาณ ปี 2557

โครงการพลเมืองเชียงใหม่ ร่วมมือจัดการตนเอง

  • PDC_3380

    สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน

    By pdc | Comments are Closed
    วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

    สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน

               นายธรรมรงค์ ใจสมคม รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า พร้อมด้วยพนักงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย และจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    ภาพ/ข่าว งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง

  • 20590821_1720032131358736_1874731396_o

    พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา

    By pdc | Comments are Closed

    นายพิสิษฐ์  ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์  ถวายพระราชกุศล  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  และถวายพระพรชัยมงคล กับถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์นำพระสงฆ์ 241 รูปสวดพระพุทธมนต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 เวลา 18.00 น. ณ พระลานพระราชวังดุสิต

     

  • รายงานผลการติดตามโครงการเชิงพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2559

    By pdc | Comments are Closed
    วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

    รายงานผลการติดตามโครงการเชิงพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2559

    รายงานผลการติดตามโครงการเชิงพื้นที่

    ประจำปีงบประมาณ 2559

    อ่านรายละเอียดของการประกาศ คลิกที่นี่

    ดาวน์โหลด เอกสาร

  • 14947689_1246572335401639_6303608964783063013_n

    เสวนา Focus group ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

    By pdc | Comments are Closed

    ร่วมรับฟังการเสวนา (Focus group) เรื่อง “ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ตามที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …. ได้ผ่านการลงประชามติเห็นชอบจากประชาชน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

    สภาพัฒนาการเมือง จัดทำโครงการรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอ ต่อการจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นตัวแทนเสนอความคิดเห็นไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

    โดยได้เชิญบุคคลสำคัญเข้าร่วมเสวนาฯ อาทิ

    • นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
    • นายสาธิต ปิตุเตชะ
    • นายสาทิตย์ วงหนองเตย
    • นายจาตุรนต์ ฉายแสง
    • นายตวง อันทะไชย
    • นายไพบูลย์ นิติตะวัน
    • นายภุชงค์ นุตราวงศ์
    • นายศรีสุวรรณ จรรยา
    • นายสุรจิต ชิรเวทย์
    • รศ.โคทม อารียา
    • ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร
    • นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
    • นายสัก กอแสงเรือง
    • นายสุริยะใส กตะศิลา
    • ดร.นันทนา นันทวโรภาส

    เสวนา Focus Group ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.30 – 14.40 น. ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

    ร่วมรับชมการเสวนาทางช่องทางต่างๆ ดังนี้

    1. www.pdc.go.th
    2. www.youtube.com/pdcvdo
    3. www.facebook.com/pdc.go.th
    เสวนา Focus group ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ EP.1
    เสวนา Focus group ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ EP.2

  • 13738339_1140097616049112_5155404995921594877_o

    แถลงข่าว การแสดงผลงานสภาพัฒนาการเมือง 9 ปี

    By pdc | Comments are Closed

    เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว การแสดงผลงานสภาพัฒนาการเมือง | 9 ปี สภาพัฒนาการเมือง : รวมพลังพลเมืองสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง

    ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.45 น. ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ข้อมูลพื้นฐาน

ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการเมือง

ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาการเมือง ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประชาธิปไตยชุมชน

หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล

ตามรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตา 78 ได้กำหนดให้รัฐต้องดำเนินการ ตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยใน

(4) ได้ กำหนดให้ ส่งเสริมให้ประชนมีความเข็มแข็งทางการเมือง และจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งสภาพัฒนากรเมืองภาคพลเมือง เพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน รวมทั้งสนับสนุนการดเนินการของกลุ่มประชาชนที่ร่วมกันในลักษณะเครือข่าย ทุกรูปแบบให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชน

(5) ส่ง เสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชนที่เกี่ยวกับการพัฒนากรเมือง และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชน ได้ใช้สิทธิ์เลือกตั้งโดยสุจริตและเที่ยงธรรม

การ ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง การส่งเสริมและให้การศึกษาแก่ประชาชน เกี่ยวกับพัฒนาทางการเมือง มีความสำคัญกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นการปกครองในระบบที่เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน มุ่งไปที่ประชาชนเป็นผู้ปกครองกันเอง ประชาชนมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีส่วนร่วมในการคิด และทำเพื่อบ้านเมืองด้วยตนเองมากที่สุด

ปัจจุบัน ชุมชนท้องถิ่นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะได้รับการส่งเสริมให้มีความเข้มแข็งทางการเมือง เพราะชุมชนท้องถิ่นมีความเข้าใจว่า การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยนั้นคือ การทำหน้าที่ไปเลือกตั้งอย่างเดียว เช่น สส. ,ส.อบต. และ ส.อบจ. แล้ว ถือว่าจบ จากความเข้าใจดังกล่าวนี้ ทำให้ชุมชนท้องถิ่น ขาดการมีส่วนร่วมเข้าไปจัดการกับปัญหาต่างๆ ในชุมชน เช่น ปัญหาที่ดินทำกิน เรื่องทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ เหมืองแร่ หรือ ขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดการศึกษา ซึ่งชุมชนท้องถิ่นมีภูมิปัญญาที่สำคัญต่างๆ มากมาย หรือขาดการมีส่วนร่วมในการรักษาไว้ ซึ่งวัฒนธรรมและประเพณี เป็นต้น

จาก พัฒนาการทางการเมืองชุมชนท้องถิ่น ของประเทศไทยที่ผ่านมา กระบวนการมีส่วนร่วมของการเมืองจะอยู่ภายใต้บทบาทของชนชั้นนำเป็นสำคัญ ในขณะที่ชุมชนท้องถิ่นทั่วไป มีบทบาทเพียงการไปลงคะแนนเสียเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ส่งผลให้การพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ในภาคพลเมือง เป็นไปอย่างเชื่องช้า

ที่ ผ่านมาขบวนองค์กรสภาชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีการขับเคลื่อนให้ทุกสภาองค์กรชุมชนตำบล จัดทำแผนพัฒนาชุมชนของตนเอง มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการ และใช้สภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่กลางในการแลกเปลี่ยนปัญหา และสร้างความร่วมมือ กับหน่วยงานที่เกี่ยวของระดับท้องถิ่น ก่อให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มองค์กรต่างๆ ภายใน 18 อำเภอ ของจังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เช่น สมาคมสื่อวิทยุชุมชนของจังหวัดกาฬสินธุ์ ในการช่วยประชาสัมพันธ์ ฯลฯ โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน

เพื่อ ให้ชุมชนท้องถิ่นภายใต้ ขบวนสภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ขับเคลื่อนงานเชิงพื้นทีสู่การจัดการตนเอง ระดับตำบลหรือตำบลจัดการตนเอง เพื่อก้าวสู่จังหวัดจัดการตนเอง ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง แบบมีส่วนร่วม หรือสร้างประชาธิปไตยชุมชน อันนำไปสู่การปูพื้นฐานประชาธิปไตยจากรากฐานของสังคม เป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น จึงได้นำเสนอโครงการประชาธิปไตยชุมชนก้าวสู่จังหวัดจัดการตนเอง ดังกล่าว

วัตถุประสงค์

  1. วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนตำบลต้นแบบได้เรียนรู้ประชาธิปไตยทางตรง

  2. เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนตำบลต้นแบบเป็นตำบลที่มีประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ ชุมชนร่วมกันกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาการชุมชน แบบมีส่วนร่วม

  3. เพื่อให้สภาองค์กรชุมชนตำบลในจังหวัดกาฬสินธุ์ มีตำบลต้นแบบในเรื่องตำบลจัดการตนเอง เพื่อก้าวสู่จังหวัดจัดการตนเองในอนาคต

ตัวชี้วัด

  1. ตัวชี้วัด

  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจเรื่องประชาธิปไตยชุมชน หรือการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบทางตรง

  2. ร้อยละ 80 ของ ผู้ร่วมกิจกรรมเข้าใจว่าการปรึกษาหารือ แบบมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นการสร้างประชาธิปไตยชุมชน หรือประชาธิปไตยแบบทางตรง ซึ่งสามารถกำหนดแผนพัฒนาชุมชนร่วมกันได้

  3. เกิด สภาองค์กรชุมชนตำบลที่สามารถจัดการตนเองได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อนำแบบอย่างไปพัฒนากับสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ยังเหลือ ในจังหวัดกาฬสินธุ์ เพื่อก้าวสู่จังหวัดจัดการตนเอง

เป้าหมาย

เป้าหมาย

  1. สมาชิกสภาองค์กรตำบลต้นแบบ ได้แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. พระ สงฆ์ ครู อาจารย์ กรรมการพัฒนาสตรีหมู่บ้าน อาสาสมัครพัฒนาสาธารณะสุขหมู่บ้าน และกลุ่มเกษตรกรต่างๆ อาสาพัฒนาชุมชนและสมาชิกสภาองค์กรชุมชน จำนวน 3 ตำบลๆ ละ 100 คน ในจังหวัดกาฬสินธุ์

วิธีการดำเนินการ

  1. วิธีการดำเนินการ

  1. จัดให้คณะวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้เรื่องประชาธิปไตย ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตยชุมชนแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  2. จัด เวทีประชาคมตำบลระดมความคิดเห็นของกลุ่มประชาชนวงกว้าง เพื่อให้ได้ข้อแนะนำ ข้อเสนอแนะ และได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการนำมาเป็นฐานในการวางแผนชุมชน เพื่อแก้ปัญหาของชุมชน

  3. นำแผนพัฒนาชุมชน เสนอต่อภาครัฐและท้องถิ่น เพื่อทำไปสู่การแก้ปัญหาของชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม

ระยะเวลาดำเนินการ

  1. ระยะเวลาดำเนินการ

เริ่ม วันที่ 10 พฤษภาคม 2557 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2557

สถานที่ดำเนินการ

  1. สถานที่ดำเนินการ

  1. สภาองค์กรชุมชนตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

  2. สภาองค์กรชุมชนตำบลศรีสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์

  3. สภาองค์กรชุมชนตำบลสระพังทอง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์

งบประมาณ

  1. งบประมาณ ประกอบด้วย

งบประมาณทั้งหมด 280,000 บาท ตัวอักษร (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยชุมชน หรือประชาธิปไตยแบบทางตรง

  1. ค่าวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คนๆ ละ 5 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 6,000 บาท

  2. ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท

  3. ค่าอาหาร + อาหารว่าง 200 บาท 100 คน เป็นเงิน 20,000 บาท

  4. ค่าเจ้าหน้าที่ช่วยงาน 2 คนๆ ละ 300 บาท/วัน เป็นเงิน 600 บาท

  5. ค่าเอกสาร เป็นเงิน 2,000 บาท

  6. ค่าสถานที่ เป็นเงิน 2,000 บาท

  7. ค่าป้าย เป็นเงิน 1,317 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 41,917 บาท

กิจกรรมที่ 2 เวทีประชาคมตำบลระดมความคิดเห็น

  1. ค่าเดินทางผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 บาท 100 คน เป็นเงิน 10,000 บาท

  2. ค่าอาหาร + อาหารว่าง 200 บาท 100 คน เป็นเงิน 20,000 บาท

  3. ค่าตอบแทนวิทยากรขบวน 2 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 600 บาท

  4. ค่าเอกสาร เป็นเงิน 1,000 บาท

  5. ค่าประสานงาน เป็นเงิน 1,000 บาท

  6. ค่าสถานที่ เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 34,600 บาท

กิจกรรมที่ 3 สรุปงาน

  • ค่าเวทีสรุปและถอดบทเรียนทั้งหมด 3 ตำบล

  1. ค่าพาหนะผู้เข้าร่วมกิจกรรม 15 คนๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท

  2. ค่าอาหารผู้เข้าร่วมกิจกรรม 15 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท

  3. ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมกิจกรรม 15 คนๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 750 บาท

  4. ค่าเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงาน 3 คนๆ ละ 400 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

  5. ค่าพาหนะเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยปฏิบัติงาน 3 คนๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

  6. ค่าประสานงาน เป็นเงิน 1,000 บาท

  7. ค่าสถานที่ เป็นเงิน 2,000 บาท

  8. ค่าเอกสาร เป็นเงิน 2,000 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 20,450 บาท

กิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์โครงการ

  • ค่าประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 30,000 บาท

รายละเอียดที่ใช้ประชาสัมพันธ์โครงการตำบลละ 10,000 บาท โดยแต่ละตำบลจะใช้ประชาสัมพันธ์ผ่านวิทยุชุมชนก่อนลงทำกิจกรรมโครงการ 1 เดือน และหลังกิจกรรมโครงการ 1 เดือน เป็นเงิน 6,000 บาท และพิมพ์เป็นเอกสาร แผ่นพับ 4,000 บาท

  • รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเรียนรู้ประชาธิปไตยชุมชน หรือประชาธิปไตยแบบทางตรง 3 ตำบลๆ ละ 44,070 บาท เป็นเงิน 132,210 บาท

  • รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ 2 เวทีประชาคมตำบลระดมความคิดเห็น

3 ตำบลๆ ละ 37,600 บาท เป็นเงิน 112,800 บาท

  • รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ 3 สรุปงาน เป็นเงิน 5,000 บาท

  • รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ 4 ประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นเงิน 30,000 บาท

รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เป็นเงิน 280,000 บาท

การประเมินผล

  1. การประเมินผล

เป็นการ ติดตามประเมินผลภายใจ โดยคณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดกาฬสินธุ์ หลังเสร็จสิ้นโครงการในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงานประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ใน โครงการระดับใด มีอุปสรรคมีปัญหาในการดำเนินงานหรือไม่ และจะได้ร่วมมือกันแก้ปัญหานั้นได้ด้วยวิธีใด ประชาชนในพื้นที่โครงการมีความพึงพอใจ และได้รับประโยชน์จากการดำเนินการโครงการจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการ บริหารจัดการของชุมชนของตนเองหรือไม่ เกิดระบบการมีส่วนร่วมและพึ่งพาอาศัยกันและกัน โดยไม่หวังพึ่งพิงหน่วยงานจากภาครัฐ หรือภาคการเมืองในระดับเหมือนเดิมหรือไม่ โดยตั้งเกณฑ์ชี้วัดประสบความสำเร็จระดับมาก ปานกลาง และระดับน้อย ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการดำเนินงาน ไปปรับใช้ในพื้นที่ชุมชนของตนเองในระดับใด โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามสัมภาษณ์สมาชิกของชุมชน และสังเกตพฤติกรรมในภาพรวมของชุมชนนั้น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เกิดสภาชุมชนตำบลต้นแบบเข้าใจการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบทางตรง

  2. เกิด สภาองค์กรชุมชนตำบลต้นแบบ เป็นชุมชนที่สามารถร่วมกันปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาของชุมชนด้วยตนเอง และกำหนดแผนพัฒนาชุมชน อย่างมีส่วนร่วมเกิดขึ้น

  3. เกิด สภาองค์กรชุมชนตำบลที่สามารถจัดการตนเองได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อนำแบบอย่างไปพัฒนากับสภาองค์กรชุมชนตำบลที่ยังเหลือ ในจังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อก้าวสู่จังหวัดจัดการตนเอง

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดกาฬสินธุ์

  1. นายขวัญตา คนซื่อ สพม.จ.กาฬสินธุ์ ประธานคณะทำงาน

  2. นางประภัสสร อุราสาย พัฒนาการจังหวัดกาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  3. นายหงสกุล บุญเลิศ พมจ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  4. นายเผด็จ โชติมณี หัวหน้าสำนักงาน จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  5. นายจำลอง สุวรรณเรือง ผอ.กศน.จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  6. นายไชยพล ไชยคำมิ่ง ตัวแทนภาคประชาสังคม จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  7. นายสุขี ซองศิริ ผู้ทรงคุณวุฒิ เลขา/ผู้ประสานงาน

  8. นายสุภัทรชัย หันจรัส ตัวแทนสภาองค์การชุมชน จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  9. นายบุญถิ่น ภูมิเหล่าแจ้ง ผู้ทรงคุณวุฒิอาสาพัฒนา/ชุมชน คณะทำงาน

  10. นายประสิทธิ์ ดวงพยัพ เลขาสวัสดิการชุมชน จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  11. นายบุญชอบ ลีลานุช ประธานกำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  12. นางบุญเพิ่ม ศิรินุกูล ผู้แทนกลุ่มสตรี จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  13. นายวรวิทย์ ภูอวด นายกเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  14. นายนีณวัฒน์ เคนโยธา ตัวแทนสภาองค์กรชุมชน จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

  15. นายวันชัย ภวสุริยะกุล ตัวแทนสมาคมท้องถิ่น จ.กาฬสินธุ์ คณะทำงาน

แผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการโครงการประชาธิปไตยชุมชนก้าวสู่จังหวัดจัดการตัวเอง

ยุทธศาสตร์ที่ 2 ประชาธิปไตยชุมชน

โครงการ ประชาธิปไตยชุมชนก้าวสู่จังหวัดจัดการตนเอง

ระยะเวลาเริ่มต้น 10 พฤษภาคม 2557 ระยะเวลาสิ้นสุด 30 กันยายน 2557

ลำดับที่

กิจกรรม/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ/สถานที่

งบประมาณ

(บาท)

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

1

กิจกรรมเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยชุมชน/ประชาธิปไตยแบบทางตรง ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 12 พ.ค. 57

ณ ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์

จ.กาฬสินธุ์

41,917.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

2

เวทีประชาคมตำบลระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างแผน/ธรรมนูญตำบล ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 13 พ.ค. 57

ณ ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์

จ.กาฬสินธุ์

34,600.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

3

กิจกรรมเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยชุมชน/ประชาธิปไตยแบบทางตรง ต.สระพังทอง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 20 พ.ค. 57

ณ ต.สระพังทอง อ.เขาวง

จ.กาฬสินธุ์

41,917.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

4

เวทีประชาคมาตำบลระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างแผน/ธรรมนูญตำบล ต.สระพังทอง อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 21 พ.ค. 57

ณ ต.สระพังทอง อ.เขาวง

จ.กาฬสินธุ์

34,600.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

5

กิจกรรมเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยชุมช/ประชาธิปไตยแบบทางตรง ต.ศรีสมเด็จ อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 5 มิ.ย. 57

ณ ต.ศรีสมเด็จ อ.สมเด็จ

จ.กาฬสินธุ์

41,917.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

ลำดับที่

กิจกรรม/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

ระยะเวลาดำเนินการ/สถานที่

งบประมาณ

(บาท)

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

6

เวทีประชาคมตำบลระดมความคิดเห็น เพื่อสร้างแผน/ธรรมนูญตำบล ต.ศรีสมเด็จ อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 6 มิ.ย. 57

ณ ต.ศรีสมเด็จ อ.สมเด็จ

จ.กาฬสินธุ์

34,600.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

7

กิจกรรมงานประชาสัมพันธ์ ใช้สื่อวิทยุชุมชน 3 สถานี และแจกแผ่นพับในเวทีกิจกรรมทั้ง 3 ตำบล ประมาณ 1,200 ชุด ใช้เวลา 2 เดือน เริ่ม 10 พ.ค. 58 ถึง 10 ก.ค. 57 ณ สถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่ อ.เขาวง

อ.สมเด็จ อ.โนนบุรี

30,000.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

8

งาสสรุปและถอดบทเรียนของโครงการ ใช้คน 15 คน ใช้เวลา 1 วัน วันที่ 11 ก.ค. 57

(หลังจากงานประชาสัมพันธ์เสร็จ) ณ ห้องประชุม พมจ. กาฬสินธุ์

20,450.-

นายขวัญตา คนซื่อ

(สพม.) และคณะ คปจ.จังหวัดกาฬสินธุ์

วัน เวลา เปลี่ยนแปลงได้

แต่ไม่เกิน 30 ก.ย. 57

สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สงวนลิขสิทธิ์ 2015
  • หน้าหลัก
  • สภา
  • สำนักงาน
  • กองทุน
  • คปจ.
  • จดแจ้งองค์กร
  • ติดต่อ
สภาพัฒนาการเมือง