สภาพัฒนาการเมืองสภาพัฒนาการเมืองสภาพัฒนาการเมืองสภาพัฒนาการเมือง
  • หน้าหลัก
  • สภา
  • สำนักงาน
  • กองทุน
  • คปจ.
  • จดแจ้งองค์กร
  • ติดต่อ

งบประมาณ ปี 2557

  • งบประมาณ ปี 2559
  • งบประมาณ ปี 2557
  • โครงการมหาสารคาม58
Home เครือข่ายภาคประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) จังหวัดมหาสารคาม งบประมาณ ปี 2557

โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของพลเมืองสู่นครตักสิลาพึ่งพาตนเอง (จังหวัดจัดการตนเอง)

  • PDC_3380

    สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน

    By pdc | Comments are Closed
    วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

    สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทาน

               นายธรรมรงค์ ใจสมคม รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า พร้อมด้วยพนักงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุประทานถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และเพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประชาชนชาวไทย โดยมีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 1 เป็นประธานในพิธีจุดธูปเทียนบูชา พระรัตนตรัย และจุดธูปเทียน เครื่องทองน้อยถวายสักการะพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 8 พฤศจิกายน 2560 ณ พระอุโบสถวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร
    ภาพ/ข่าว งานประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง

  • 20590821_1720032131358736_1874731396_o

    พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา

    By pdc | Comments are Closed

    นายพิสิษฐ์  ศิริสุวรรณ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง พร้อมพนักงานเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ร่วมพิธีเจริญพระพุทธมนต์  ถวายพระราชกุศล  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  และถวายพระพรชัยมงคล กับถวายพระราชกุศล สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 65 พรรษา 28 กรกฎาคม 2560 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์นำพระสงฆ์ 241 รูปสวดพระพุทธมนต์ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2560 เวลา 18.00 น. ณ พระลานพระราชวังดุสิต

     

  • รายงานผลการติดตามโครงการเชิงพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2559

    By pdc | Comments are Closed
    วันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

    รายงานผลการติดตามโครงการเชิงพื้นที่ ประจำปีงบประมาณ 2559

    รายงานผลการติดตามโครงการเชิงพื้นที่

    ประจำปีงบประมาณ 2559

    อ่านรายละเอียดของการประกาศ คลิกที่นี่

    ดาวน์โหลด เอกสาร

  • 14947689_1246572335401639_6303608964783063013_n

    เสวนา Focus group ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

    By pdc | Comments are Closed

    ร่วมรับฟังการเสวนา (Focus group) เรื่อง “ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ” ตามที่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. …. ได้ผ่านการลงประชามติเห็นชอบจากประชาชน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559

    สภาพัฒนาการเมือง จัดทำโครงการรับฟังความคิดเห็นและจัดทำข้อเสนอ ต่อการจัดทำพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นตัวแทนเสนอความคิดเห็นไปยังคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

    โดยได้เชิญบุคคลสำคัญเข้าร่วมเสวนาฯ อาทิ

    • นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
    • นายสาธิต ปิตุเตชะ
    • นายสาทิตย์ วงหนองเตย
    • นายจาตุรนต์ ฉายแสง
    • นายตวง อันทะไชย
    • นายไพบูลย์ นิติตะวัน
    • นายภุชงค์ นุตราวงศ์
    • นายศรีสุวรรณ จรรยา
    • นายสุรจิต ชิรเวทย์
    • รศ.โคทม อารียา
    • ศ.ศรีราชา วงศารยางกูร
    • นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์
    • นายสัก กอแสงเรือง
    • นายสุริยะใส กตะศิลา
    • ดร.นันทนา นันทวโรภาส

    เสวนา Focus Group ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.30 – 14.40 น. ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

    ร่วมรับชมการเสวนาทางช่องทางต่างๆ ดังนี้

    1. www.pdc.go.th
    2. www.youtube.com/pdcvdo
    3. www.facebook.com/pdc.go.th
    เสวนา Focus group ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ EP.1
    เสวนา Focus group ทิศทางร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ EP.2

  • 13738339_1140097616049112_5155404995921594877_o

    แถลงข่าว การแสดงผลงานสภาพัฒนาการเมือง 9 ปี

    By pdc | Comments are Closed

    เข้าร่วมรับฟังการแถลงข่าว การแสดงผลงานสภาพัฒนาการเมือง | 9 ปี สภาพัฒนาการเมือง : รวมพลังพลเมืองสู่ประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง

    ในวันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2559 เวลา 08.45 น. ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ อาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ

ข้อมูลพื้นฐาน

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการเมือง

ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาการเมือง

ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การคุ้มครองสิทธิ์ เสรีภาพ และส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม

พันธกิจที่ ๑ การเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

พันธกิจที่ ๒ การเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ

ยุทธศาสตร์ที่ ๖ การกระจายอำนาจ และการสร้างความเป็นธรรมในการบริหารทรัพยากร

พันธกิจที่ ๔ การพัฒนาเครือข่ายร่วมกันระหว่างชุมชน ท้องถิ่น กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หลักการและเหตุผล

  1. หลักการและเหตุผล

รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเมืองของประเทศเป็นอย่างมาก โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาการ เมืองของประเทศ และได้บัญญัติเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองไว้หลายประการ ในหมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ส่วนที่ ๑๐ แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยมาตรา ๘๗ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวกันในลักษณะเครือข่าย ทุกรูปแบบ ให้สามารถแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของประชาชนในพื้นที่ด้วยการส่ง เสริมและพัฒนาให้ ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมืองรวมทั้งสนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและพลเมือง มีจิตสำนึกในสิทธิหน้าที่พลเมืองตามที่สภาพัฒนาการเมืองได้กำหนดยุทธศาสตร์ การพัฒนากากรเมืองในระยะสั้นและระยะยาว ตามแผนพัฒนาการเมืองในปี ๒๕๕๗ ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมประชาชนมีความเข้มแข็งทางการเมือง และได้กำหนดกลยุทธ์การพัฒนาการเมืองไว้ ๓ มิติ คือ จังหวัดจัดการตนเอง ประชาธิปไตยชุมชน และการจัดการทรัพยากร โดยให้คณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน

ดังนั้นคณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดมหาสารคาม จึงจัดโครงการ “ส่งเสริมความเข้มแข็งของพลเมืองสู่นครตักสิลา พึ่งพาตนเอง (จังหวัดจัดการตนเอง) ด้วยการพัฒนาศักยภาพแกนนำ องค์กร/เครือ ข่ายให้ครอบคลุมทั้งจังหวัด เพื่อให้มีความเข้มแข็งทางการเมืองภาคพลเมืองที่มีความสามารถแสดงความคิด เห็น และเสนอความต้องการของประชาชนในพื้นที่โดยท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน และนำเสนอสู่แผนพัฒนาจังหวัด ในลักษณะตำบลเป็นพื้นที่ปฏิบัติ จังหวัดเป็นพื้นที่บูรณาการ

วัตถุประสงค์

  1. วัตถุประสงค์

  1. พัฒนาศักยภาพ ศักยภาพแกนนำเครือข่าย/องค์กรชุมชนท้องถิ่น/ท้องที่ ภาคีพัฒนาและประชาชนได้ตื่นตัวทางการเมือง โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมือง

  2. เสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองโดยใช้ท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน

  3. เพื่อให้เกิดเวทีกลางในระดับจังหวัด ในการบูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาจังหวัด ที่สามารถนำปฏิบัติ สู่นครตักศิลา พึ่งพาตนเอง (จังหวัดจัดการตนเอง) ได้อย่างเป็นรูปธรรม

กิจกรรมหลัก

  1. กิจกรรมหลัก

  1. ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำเครือข่าย เพื่อออกแบบการขับเคลื่อนกิจกรรม

  2. เวทีสร้างความเข้าใจ และเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น ข้อเสนอความต้องการของชุมชน ในระดับพื้นที่ ๓ โซน

  3. เวทีสังเคราะห์ประเด็นปัญหา และบูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาจังหวัด

  4. สรุปบทเรียน/ถอดบทเรียน

  5. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์

วิธีการดำเนินงาน

  1. วิธีการดำเนินงาน

  1. ประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำเครือข่าย เพื่อออกแบบการขับเคลื่อนกิจกรรม

  • ประสานการดำเนินกับพื้นที่เพื่อให้ได้กลุ่ม/เครือข่าย องค์กร เข้ามีส่วนร่วมออกแบบแนวทางการสร้างกระบวนการ การขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการ

  1. เวทีสร้างความเข้าใจ และเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น และเสนอความต้องการของชุมชนในระดับพื้นที่

  • จัดเวทีกลางในระดับพื้นที่เพื่อให้ตัวแทนแกนนำ เครือข่าย/องค์กร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหาและข้อเสนอ (เวทีประชาธิปไตยชุมชน)

  1. เวทีสังเคราะห์ประเด็นปัญหา และการบูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาการจังหวัด

  • เวที กลางระดับจังหวัดเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นประเด็นปัญหา และข้อเสนอความต้องการของชุมชนในระดับพื้นที่ นำมาสังเคราะห์ บูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาการจังหวัด (จังหวัดจัดการตนเอง)

  1. สรุปผลการดำเนินงาน/ถอดบทเรียน

  • เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาในการดำเนินการของโครงการแล้ว ตัวแทน/แกนนำเครือข่ายกลุ่ม/องค์กร และคณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียน โดยคณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด ต้องรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน และกระบวนการ ขับเคลื่อนงาน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับจังหวัดอื่นๆในกลุ่มจังหวัดและภูมิภาค

  1. การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร และประชาสัมพันธ์ แผนพัฒนาการเมือง

  • การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น สื่อวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด (สวท.) ที่สามารถครอบคลุมชุมชนในพื้นที่อำเภอ ๑๓ อำเภอ สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น จดหมายข่าว แผ่นพับ และสื่อประชาสัมพันธ์สาธารณะ (ป้ายไวนิล)

 

เป้าหมาย

  1. เป้าหมาย

  • เครือข่าย กลุ่ม/องค์กรชุมชน ท้องถิ่น/ท้อง ที่ ภาคีพัฒนาและประชาชนได้มีการตื่นตัวทางการเมืองภาคพลเมือง ในการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมืองที่เข้มแข็งและความเป็นพลเมืองที่มี คุณภาพ โดยท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน และจัดการทรัพยากรที่สอดคล้องกับบริบทท้องถิ่น และวิถีชีวิตชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย

  1. กลุ่มเป้าหมาย

  1. ผู้แทนแกนนำเครือข่ายองค์กรชุมชน ๑๕ ประเด็น ดังนี้

  • สภาองค์กรชุมชน/กองทุนสวัสดิการชุมชน/เศรษฐกิจและทุนชุมชน รวม ๖๓ คน

  • เกษตรกรรมยั่งยืน/ป่าชุมชน/ที่ดินทำกิน, ที่อาศัย/ภัยพิบัติและบ้านมั่นคง รวม ๖๒ คน

  • ผู้บริหารท้องถิ่น, ผู้นำท้องที่คุ้มครองผู้บริโภค/ สุขภาพและอนามัย/ครูผู้สอนดี รวม ๖๓ คน

  • ผู้สูงอายุ, ภูมิปัญญา/สตรี/เด็กและเยาวชน/สื่อและอาสาสมัครอื่นๆ รวม ๖๒ คน

รวม ๒๕๐ คน

พื้นที่ดำเนินการ

  1. พื้นที่ดำเนินการ

จังหวัดมหาสารคาม มี ๑๓ อำเภอ กำหนดพื้นที่ดำเนินการตามกิจกรรมที่ ๒ เป็น ๓ พื้นที่ ดังนี้

พื้นที่ที่ ๑ ประกอบด้วย อำเภอเมือง อำเภอกันทรวิชัย อำเภอเชียงยืน และอำเภอชื่นชม

พื้นที่ที่ ๒ ประกอบด้วย อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกุดรัง อำเภอบรบือ อำเภอวาปีปทุม และอำเภอแกดำ

พื้นที่ที่ ๓ ประกอบด้วย อำเภอนาเชือก อำเภอนาดูน อำเภอยางสีสุราช และอำเภอพยัคฆภูมิพิสัย

ตัวชี้วัด

  1. ตัวชี้วัด

  1. ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่ม/องค์กร ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคพัฒนา เครือข่ายประชาสังคมมีความรู้ ความเข้าใจ และมีการตื่นตัวทางการเมืองภาคพลเมือง พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน นำแผนพัฒนาการเมืองสู่การปฏิบัติ

  2. ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่ม/องค์กร เครือข่ายประชาสังคม เข้าร่วมการเรียนรู้การดำเนินการ การพัฒนากลไกในการดำเนินการสร้างความเข้มแข็งด้านการเมืองภาคพลเมือง

  3. มีการเชื่อมโยง ชุมชน ท้องถิ่น ท้องที่ ภาคีพัฒนาและกลุ่ม/องค์กร อาสาสมัครอื่นๆ ในพื้นที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ ๔๐ ของกลุ่ม/องค์กรเครือข่ายประชาสังคมที่ยังไม่เคยร่วมกิจกรรม ได้มีโอกาสเข้าร่วม รวมพลังเสริมสร้างตัวตนให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

  4. มีการบูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาจังหวัด ที่นำสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม (สภาฮักแพง เบิ่งแญง คนมหาสารคาม) ที่จะเป็นเครื่องมื่อในการกำหนดทิศทาง แนวทาง ที่จะนำไปสู่ “นครตักสิลา พึ่งพาตนเอง” (ชุมชน ท้องถิ่น และจังหวัดจัดการตนเอง)

ระยะเวลาดำเนินการ

  1. ระยะเวลาดำเนินการ

วันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ ถึง วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗

งบประมาณ

  1. งบประมาณ

งบประมาณดำเนินกิจกรรมโครงการฯ ของสภาพัฒนาการเมือง จำนวน ๒๘๐,๐๐๐ บาท (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน) เพื่อหนุนเสริมความร่วมมือในการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง โดยแบ่งออกเป็น ๒ หมวด คือ

  1. หมวดกิจกรรม มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการกิจกรรมตามโครงการดังนี้

กิจกรรมที่

รายการและรายละเอียดของโครงการ

งบประมาณ

(บาท)

หมายเหตุ

๑

การประชุมเชิงปฏิบัติการ (คปจ, เครือข่าย/ผู้ทรงคุณวุฒิ)

  • ค่าพาหนะผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน ๒๕ คน โดยเฉลี่ย คนละ ๕๐๐ บาท

  • ค่าจ้างบุคคลช่วยงาน ๑ คน

  • ค่าอาหารว่าง/อาหารกลางวัน ๒๖ คนๆละ ๒๐๐ บาท

  • ค่าสถานที่ – สื่อ – โสต

  • ค่าเอกสาร/ประสานงาน

รวม

๑๒,๕๐๐.-

๔๐๐.-

๕,๒๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๒๑,๑๐๐.-

๒

เวทีชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและ เสนอความต้องการ จำนวน ๓ พื้นที่ (โดยเฉลี่ยพื้นที่ละ)

  • ค่าพาหนะผู้เข้าร่วมเวทีฯ จำนวน ๕๐ คนๆ ละ ๓๐๐ บาท

  • ค่าเบี้ยเลี้ยงปฏิบัติงาน คปจ. จำนวน ๑๕ คนๆ ละ ๘๐๐ บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน ๒ คนๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท

  • ค่าวิทยากรกระบวนการ ๓ คนๆ ละ ๕๐๐ บาท

  • ค่าจ้างบุคคลช่วยงาน จำนวน ๒ คนๆ ละ ๔๐๐ บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่าง จำนวน ๗๒ คนๆ ละ ๒๐๐ บาท

  • ค่าเอกสาร

  • ค่าใช้จ่ายในการประสานงาน

  • สถานที่ – สื่ออุปกรณ์โสต

รวม/หนึ่งพื้นที่

รวมค่าใช้จ่าย ๓ พื้นที่ (๕๑,๗๐๐ x ๓)

๑๕,๐๐๐.-

๑๒,๐๐๐.-

๒,๐๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๘๐๐.-

๑๔,๔๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๑,๐๐๐.-

๓,๕๐๐.-

๕๑,๗๐๐.-

๑๕๕,๑๐๐.-

ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถั่วจ่ายตามความเหมาะสม

๓

เวทีสังเคราะห์ประเด็นปัญหา ข้อเสนอ และบูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาจังหวัด

  • ค่าพาหนะผู้เข้าร่วมเวทีฯ จำนวน ๕๐ คนๆ ละ ๔๐๐ บาท

  • ค่าจ้างผู้ช่วยงาน จำนวน ๒ คนๆ ละ ๔๐๐ บาท

  • ค่าวิทยากร จำนวน ๒ คนๆ ละ ๑,๐๐๐ บาท

  • ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่าง จำนวน ๕๐ คนๆ ละ ๒๐๐ บาท

  • ค่าเอกสาร

  • ค่าเช่าสถานที่/สื่ออุปกรณ์โสต

  • ค่าใช้จ่ายในการประสานงาน

รวม

๒๐,๐๐๐.-

๘๐๐.-

๒,๐๐๐.-

๑๐,๐๐๐.-

๑,๐๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๑,๐๐๐.-

๓๖,๓๐๐.-

๔

เวทีสรุปและถอดบทเรียน

  • ค่าพาหนะผู้เข้าร่วมเวที จำนวน ๕๐ คนๆ ละ ๔๐๐ บาท

  • ค่าจ้างบุคคลช่วยงาน จำนวน ๑ คน

  • ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่าง จำนวน ๕๑ คนๆ ละ ๒๐๐ บาท

  • ค่าเอกสารและประสานงาน

  • ค่าเช่าสถานที่–สื่ออุปกรณ์โสต ประจำสถานที่จัดเวที

  • ค่าใช้จ่ายในการผลิตเอกสาร สรุป/รายงานผล

รวม

๒๐,๐๐๐.-

๔๐๐.-

๑๐,๒๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๑,๕๐๐.-

๓,๙๐๐.-

๓๗,๕๐๐.-

รวมค่าใช้จ่าย (หมวดกิจกรรม) ของโครงการทั้งหมด

๒๕๐,๐๐๐.-

  1. หมวดประชาสัมพันธ์ มีรายละเอียดค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้

กิจกรรมที่

รายการและรายละเอียดของโครงการ

งบประมาณ

(บาท)

หมายเหตุ

๑

การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

  • เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียง แบบเหมาจ่าย ๑ วัน/สัปดาห์ จำนวน 20 สัปดาห์

  • ค่าจัดทำป้ายไวนิล ประชาสัมพันธ์กิจกรรมเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด ตามแผนพัฒนาการเมือง

  • ค่าจัดพิมพ์จดหมายข่ายเผยแพร่กิจกรรมเครือข่ายประชาสังคม ตามแผนพัฒนาการเมือง จำนวน ๑,๐๐๐ ฉบับๆ ละ ๕ บาท x ๒ ครั้ง

  • ค่าตอบแทนผู้จัดทำรายการเคเบิลทีวี เหมาจ่าย ๑๐ ตอน (ออกอากาศหมุนเวียน)

รวมค่าใช้จ่าย (หมวดประชาสัมพันธ์) ทั้งหมด

๒,๕๐๐.-

๒,๕๐๐.-

๑๐,๐๐๐.-

๑๐,๐๐๐.-

๓๐,๐๐๐.-

ค่าใช้จ่ายทุกรายการสามารถถั่วจ่ายตามความเหมาะสม

รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโครงการฯ (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)

๒๘๐,๐๐๐.-

การติดตามประเมินผล

  1. การติดตามประเมินผล

  • การ ลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของภาคประชาชนสังคมที่อยู่ระหว่าง การดำเนินกิจกรรม คณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัดมหาสารคาม หรือจากสถาบันอุดมศึกษาในพื้นที่

  • การติดตามและประเมินผล โดยการใช้ใบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. แกนำเครือข่าย องค์กรชุมชน มีการพัฒนาศักยภาพในการเชื่อมโยงท้องถิ่น/ท้อง ที่ ภาคีพัฒนาและประชาชน ให้มีการตื่นตัวทางการเมือง โดยใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการเมืองภาคพลเมือง ที่เข้มแข็ง และเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ

  2. เกิด วัฒนธรรมทางการเมืองภาคพลเมือง โดยใช้ท้องถิ่นเป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นแกนหลัก ในการขับเคลื่อนประชาธิปไตยชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนที่ครอบคลุมมิติต่างๆ เช่น สังคม เศรษฐกิจการเมือง ทรัพยากร รวมถึงมิติสุขภาวะ ที่สอดคล้องบริบทท้องถิ่น และวิถีชุมชน

  3. มี พื้นที่กลางในระดับจังหวัด ที่ใช้เป็นที่แลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นปัญหา และบูรณาการแผนพัฒนาการเมืองและแผนพัฒนาจังหวัด ที่สามารถนำปฏิบัติสู่ “นครตักสิลา พึ่งพาตนเอง” (จังหวัดจัดการตนเอง) ได้อย่างเป็นรูปธรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงานเครือข่ายประชาสังคมจังหวัด (คปจ.) มหาสารคาม

แผนปฏิบัติการ

แผนปฏิบัติการ โครงการส่งเสริมความเข้มแข็งของพลเมือง สู่ นครตักสิลาพึ่งพาตนเอง (จังหวัดการตนเอง)

คณะทำงาน เครือข่ายประชาสังคม จังหวัดมหาสารคาม (คปจ.)

ระยะเวลาเริ่มต้น วันที่ ๑๕ มิถุนาย ๒๕๕๗ สิ้นสุด วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๗

ลำดับที่

กิจกรรม

(ระบุลักษณะกิจกรรมจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม)

ระยะเวลาดำเนินการ

งบประมาณ

(บาท)

ผู้รับผิดชอบ

หมายเหตุ

๑

ประชุมเชิงปฏิบัติการ คปจ. และกลุ่ม/องค์กรเครือข่าย เพื่อออกแบบแนวทางการดำเนินโครงการฯ จำนวน ๒๕ คน

๑๕ มิ.ย. ๒๕๕๗

๒๑,๑๐๐.-

คปจ.

มหาสารคาม

ระยะเวลาดำเนินงานอาจมีการปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม

๒

จัดเวทีชี้แจง สร้างความรู้ ความเข้าใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และข้อเสนอความต้องการฯ ๓ พื้นที่ จำนวน ๑๕๐ คน

มิ.ย. ๒๕๕๗

๑๕๕,๑๐๐.-

คปจ.

มหาสารคาม

๓

เวทีสังเคราะห์ประเด็นปัญหา ข้อเสนอบูรณาการแผนพัฒนากรเมือง และแผนพัฒนาจังหวัด

กรกฎาคม ๒๕๕๗

๓๖,๓๐๐.-

คปจ.

มหาสารคาม

๔

เวทีสรุป/ถอดบทเรียน

จำนวน ๕๐ คน

สิงหาคม ๒๕๕๗

๓๗,๕๐๐.-

คปจ.

มหาสารคาม

๕

การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม คปจ. และแผนพัฒนาการเมือง

๑๕ มิ.ย. – ๑๕ ก.ย. ๒๕๕๗

๓๐,๐๐๐.-

คปจ.

มหาสารคาม

รวมทั้งสิ้น

๒๘๐,๐๐๐.-

สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สงวนลิขสิทธิ์ 2015
  • หน้าหลัก
  • สภา
  • สำนักงาน
  • กองทุน
  • คปจ.
  • จดแจ้งองค์กร
  • ติดต่อ
สภาพัฒนาการเมือง